กฎหมายอาญา


กฎหมายอาญา

        
กฎหมายอาญา   คือ  กฎหมายที่รวมเอาลักษณะความผิดต่าง ๆ  และกำหนดบทลงโทษซึ่งบัญญัติขึ้นโดยมีจุดประสงค์ที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคม  การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ  โดยถือว่าเป็นความผิดทางอาญาหากปล่อยให้มีการดำเนินการเอง
        เจตนา  คือ  การกระทำผิดทางอาญา  ที่ผู้กระทำรู้อยู่แล้วว่าสิ่งที่ตนทำนั้นเป็นความผิดแต่ยังทำลงไปทั้ง ๆ  ที่รู้สำนึกในการที่กระทำ
       ประมาท  คือ  การกระทำที่ผู้กระทำมิได้ตั้งใจให้เกิดผลร้ายแก่ใคร  แต่เนื่องจากกระทำโดยไม่ระมัดระวัง  ทำให้เกิดผลร้ายแก่ผู้อื่น
      ไม่เจตนา  คือ  การกระทำที่ผู้กระทำมิได้ตั้งใจทำเพื่อให้เกิดผลอย่างหนึ่ง

Ø ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
1.   ความผิดเกี่ยวกับการลักทรัพย์  เป็นความผิดที่เอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต  แม้ว่าเจ้าของทรัพย์จะไม่ติดใจเอาความแต่ความผิดเกี่ยวกับการลักทรัพย์ไม่สามารถยอมความกันได้
2.   ความผิดเกี่ยวกับการวิ่งราวทรัพย์  เป็นความผิดในการลักทรัพย์ของผู้อื่นโดยมีการฉกฉวยเอาไปซึ่งหน้าโดยไม่มีความเกรงกลัว
3.   ความผิดเกี่ยวกับการชิงทรัพย์  เป็นความผิดในการลักทรัพย์ของผู้อื่นโดยมีการใช้กำลังประทุร้ายหรือขู่เข็ญว่าทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุร้าย  เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือพาทรัพย์นั้นไป
4.   ความผิดเกี่ยวกับการปล้นทรัพย์  เป็นความผิดในการชิงทรัพย์ที่ร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่  3  คนขึ้นไป
5.   ความผิดเกี่ยวกับการกรรโชกทรัพย์  เป็นความผิดในการใช้กำลังประทุร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิตและร่างกาย  เสรีภาพ  ชื่อเสียง  หรือทรัพย์สินกับผู้ถูกประทุร้าย
6.   ความผิดเกี่ยวกับการรีดเอาทรัพย์  เป็นความผิดในการข่มขืนใจผู้อื่นให้เปิดเผยความลับที่เป็นประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพย์สิน
7.   ความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงทรัพย์  เป็นความผิดที่ใช้กลอุบายเอาทรัพย์สินผู้อื่นโดยการหลอกลวงและปกปิดข้อเท็จจริง
8.   ความผิดเกี่ยวกับการยักยอกทรัพย์  เป็นความผิดที่ผู้กระทำผิดได้ทรัพย์ของผู้อื่นมาครอบครองไว้แล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน

Ø ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
1.   ความผิดเกี่ยวกับชีวิต  คือ  เป็นความผิดที่ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด  เจตนาให้ตายหรือไม่  ซึ่งมีความผิดที่สำคัญ  ได้แก่
               1.1  ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
              1.2  การช่วยยุยงให้ผู้อื่นหรือเด็กฆ่าตนเอง
2.     ความผิดเกี่ยวกับร่างกาย  คือ  ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายและจิตใจ  มี  4  ลักษณะ  คือ
2.1   ทำร้ายร่างกายโดยไม่มีอันตราย
2.2    ทำร้ายร่างกายโดยมีอันตราย
2.3    ทำร้ายร่างกายโดยได้รับอันตรายสาหัส
2.4    ทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ชีวิต
3. ความผิดที่กระทำโดยประมาทต่อชีวิตและร่างกาย  กฎหมายได้บัญญัติให้รับผิดในการกระทำ                โดยประมาทสามารถแยกได้ตามความหนักเบา  คือ
3.1     การกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
3.2     การกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส
3.3   การกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น