กฎหมาย



กฎหมาย

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมาย
1. ความหมายของกฎหมาย
กฎหมาย คือ  กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น  หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ  เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ  เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม
2. ความสำคัญของกฎหมาย
2.1        เพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยในสังคม  กิจกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศ  จะมีทั้งทางเศรษฐกิจ  สังคม  และการเมือง
2.2        เพื่อควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในสังคมให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม
2.3        เพื่อปกป้องและรักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
3. ลักษณะของกฎหมาย
3.1        เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับเพื่อให้บุคคลปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติที่มีผลบังคับครอบคุมอย่างกว้างขว้างภายในอาณาเขตของรัฐแห่งหนึ่งๆ
3.2        เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ตราขึ้นโดยรัฐ
3.3        ต้องมีสภาพบังคับกฎหมายเมื่อตราออกมาหรือประกาศใช้แล้ว
3.4        มีผลใช้บังคับตลอดไป
3.5        มีความเสมอภาคและยุติธรรม
4. ประเภทของกฎหมาย
4.1        แบ่งตามความสัมพันธ์
1.       กฎหมายเอกชน  คือ  กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน
2.       กฎหมายมหาชน  คือ  กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน
3.       กฎหมายระหว่างประเทศ  คือ  กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ
4.2        แบ่งตามลำดับศักดิ์ของกฎหมาย
1.   พระราชบัญญัติ  คือ  เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ  ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
2.   พระราชกำหนด  เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารมีฐานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ
การตราพระราชกำหนดทำได้เฉพาะเห็นว่าเป็นกรณีที่ฉุกเฉิน  ได้แก่  การกระทำเพื่อประโยชน์ในอันที่จะ
(1)                      รักษาความปลอดภัยของประเทศ
(2)                      รักษาความปลอดภัยสาธารณะ
(3)                      รักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ
(4)                      ป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ
(5)                      จำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน
3.   พระราชกฤษฎีกา  เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารเพื่อวางระเบียบการต่างๆ ทางบริหารโดยมีพระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด  หรือรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้
4.   กฎกระทรวง  เป็นกฎที่ตราขึ้น  โดยรัฐมนตรีผู้ที่ดูแลกระทรวงนั้นเพื่อกำหนดรายละเอียดต่างๆสำหรับการนำไปปฏิบัติ
5.   กฎอื่น ๆ  เช่น  ประกาศ  ระเบียบ  ข้อบังคับ เป็นต้น
4.3        แบ่งตามลักษณะของการนำไปใช้
(1)          กฎหมายสารบัญญัติ  เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยสิทธิ  หน้าที่  และความรับผิดชอบของบุคคล  โดยจะกำหนดการกระทำที่เป็นองค์ประกอบแห่งความผิดอันจะก่อให้เกิดสภาพบังคับ
(2)          กฎหมายวิธีสบัญญัติ  เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการวางวิธีการปฏิบัติสำหรับบุคคลที่จะเรียกร้องขอความคุมครองของกฎหมาย  เมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เกิดขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น