กฎหมายอื่นที่ควรรู้


กฎหมายอื่นที่ควรรู้

Ø กฎหมายภาษีอากร
          กฎหมายภาษีอากร   หมายถึง  กฎหมายเกี่ยวกับการจัดหารายได้ให้กับรัฐโดยใช้ภาษีอากรเป็นเครื่องมือในการจัดเก็บ  ภาษีอากรเป็นสิ่งที่รัฐบังคับจัดเก็บจากประชาชนเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ส่วนรวม
ภาษีที่เก็บโดยส่วนกลาง
1.   ภาษีที่เก็บโดยกระทรวงการคลัง
2.   ภาษีที่เก็บโดยกระทรวงอื่น
ต่อไปนี้  จะนำเสนอเฉพาะกฎหมายภาษีอากรที่น่ารู้  ได้แก่
1.   ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  คือ  ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไปที่มีเงินได้ตั้งแต่  150,001 บาทขึ้นไป  โดยที่บุคคลนั้นอาจมีสถานภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง  ดังต่อไปนี้
(1)                       บุคคลธรรมดา
(2)                       ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
(3)                       ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
(4)                       กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
2.   ภาษีเงินได้นิติบุคคล  เป็นภาษีอากรที่จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล  ดังต่อไปนี้
(1)                       บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
(2)                       บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายระต่างประเทศ
(3)                       กิจการซึ่งเป็นการค้าหรือการหากำไรในประเทศไทยที่ดำเนินการ
(4)                       กิจการที่ร่วมทุนกันค้าหรือหากำไรระหว่างนิติบุคคลต่อไปนี้
(5)                       มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้
3.   ภาษีมูลค่าเพิ่ม  เป็นภาษีที่จัดเก็บจากผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจ  อย่างไรก็ตามกฎหมายได้กำหนดให้มีกิจการบางประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  เช่น
(1)                       การขายพืชผลทางการเกษตรภายในประเทศ
(2)                       การขายสัตว์ที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตภายในประเทศ
(3)                       การขายปุ๋ย การขายอาหารสัตว์
(4)                       การขายหนังสือพิมพ์  นิตยสาร
(5)                       การขายฉลากกินแบ่งรัฐบาล
4.   ภาษีธุรกิจเฉพาะ  เป็นภาษีที่เก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่าง  ดังต่อไปนี้
(1)                       การธนาคาร
(2)                       การประกอบธุรกิจเงินทุน  ธุรกิจหลักทรัพย์
(3)                       การรับประกันชีวิต
(4)                       การรับจำนำ
(5)                       การขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าหรือหากำไร
5.   ภาษีป้าย
ป้าย  คือ  ยี่ห้อ  หรือ เครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า  เพื่อโฆษณา  โดยทำขึ้นด้วยวิธีใด ๆ  ทั้งนี้จะต้องเสียภาษีด้วย
1)   ป้ายที่ต้องเสียภาษี
ป้ายที่ต้องเสียภาษี  ได้แก่  ป้ายที่แสดงชื่อยี่ห้อหรือทำเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า  เพื่อโฆษณา  หรือหารายได้ไม่ว่าจะวิธีใดก็ตาม
2)   การยื่นแสดงรายการเสียภาษีป้าย
เจ้าของบ้านต้องไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายต่อสำนักงานเขต  เทศบาล  ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี
3)   การชำระภาษีป้าย
เมื่อได้มีการยื่นภาษีป้าย แล้วให้ผู้ยื่นนำเงินค่าภาษีป้ายไปชำระต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  ไว้ภายใน  15  วัน  นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่
6.   ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
โรงเรือน  คือ  ที่อยู่อาศัย  หรือสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ  กับที่ดิน  ซึ่งจะต้องเสียภาษีดังนี้
1.   ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน  หรือทรัพย์สินที่ต้องแจ้งรายการ
2.   โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างที่ต้องแจ้งรายการ  ตั้งอยู่ในท้องที่ใดให้ยื่นแบบแจ้งรายการต่อพนักงาน
3.   การยื่นเสียภาษีโรงเรือน  ให้ยื่นภายในกำหนดที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศให้ทราบ
7.   ภาษีได้หัก ณ ที่จ่าย
การคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย  ให้คำนวณหักไว้ทุกครั้งที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน


Ø กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร
ราชการทหาร  พุทธศักราช  2497  การรับราชการทหารมี  4  ประเภท  คือ
1.   การรับราชการทหารกองเกิน
2.   การรับราชการทหารกองประจำการ
3.   การรับราชการทหารกองหนุน
4.   การรับราชการทหารประจำการ


Ø กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
1.   การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการโฆษณา
            อำนาจหน้าที่ของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
1)   มีหน้าที่ในการควบคุมดูแลการโฆษณาสินค้า หรือบริการ
2)   มีหน้าที่ในการป้องกันหรือระงับยับยั้งความเสียหายหรืออันตรายอันเกิดขึ้นแก่ผู้บริโภค
3)   มีหน้าที่ในการตรวจข้อความโฆษณา
2.   การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านฉลาก
การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านฉลาก   เป็นเรื่องที่รัฐออกกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค
3.   การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญา
4.   การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการขายและตลาดแบบตรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น