นิติกรรม หมายถึง การกระทำของบุคคลที่ชอบด้วยกฎหมายและโดยสมัครใจ มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวแห่งสิทธิตามเจตนาของบุคคลนั้น
ในการทำนิติกรรมนั้นขอบเขตที่กฎหมายกำหนดห้ามไว้โดยวัตถุประสงค์มี 3 ประการ คือ
1. นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ที่เป็นการขัดต่อกฎหมาย
2. นิติกรรมที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
3. นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ที่เป็นการพ้นวิสัย
หนี้
หนี้ คือ ความผูกพันทางกฎหมายระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คือ
เจ้าหนี้ มีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้
ลูกหนี้ มีหน้าที่ปฏิบัติตามที่ตกลงกับเจ้าหนี้
ทรัพย์
ทรัพย์ หมายถึง วัตถุที่มีรูปร่าง เช่น วิทยุ บ้าน ที่ดิน รถยนต์ และส่วนที่ไม่มีรูปร่าง เช่น สิทธิ
ทรัพย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. อสังหาริมทัพย์
2. สังหาริมทรัพย์
ทรัพย์สิน หมายถึง ทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคา ทรัพย์สินจะเกิดขึ้นโดยอำนาจแห่งกฎหมาย เช่น
1. กรรมสิทธิ์
2. สิทธิครอบครอง
3. ภาระจำยอม
4. สิทธิอาศัย
5. สิทธิเหนือพื้นดิน
6. สิทธิเก็บเงิน
7. ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
8. ทรงจำเป็น
นิติกรรมสัญญา ได้แก่ สัญญาซื้อขาย สัญญาขายฝาก การเช่าทรัพย์ การเช่าซื้อ การกู้ยืม การค้ำประกัน การจำนำ และการจำนอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น