การละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง เรียก
อาชญากรรมสงคราม กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (jus in bello) วางระเบียบจรรยาของกำลังเมื่อเข้าสู่สงครามหรือการขัดกันด้วยอาวุธ
ซึ่งวางระเบียบจรรยาการเข้าสู่สงครามหรือการขัดกันด้วยอาวุธและรวมอาชญากรรมต่อสันติภาพและสงครามการรุกรานทั้ง
jus in bello และ jus ad bellum รวมกันประกอบเป็นกฎหมายสงครามสองสายซึ่งปกครองการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างประเทศทุกส่วน
กฎหมายดังกล่าวบังคับแก่ชาติที่ถูกผูกมัดโดยสนธิสัญญาที่เหมาะสม
นอกจากนี้ ยังมีกฎสงครามไม่เป็นลายลักษณ์อักษรจารีตประเพณีอื่นอีก
มีการเสาะกฎเหล่านี้จำนวนมากในการพิจารณาคติเนียร์นเเบล็ร์กโดยการขยาย
กฎเหล่านี้ยังนิยามทั้งสิทธิซึ่งมอบให้ของอำนาจเหล่านี้ ตลอดจนการห้ามจรรยาของอำนาจเหล่านั้นเมื่อจัดการกับกำลังนอกแบบและประเทศที่ไม่เป็นภาคีสนธิสัญญา
กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศใช้การแบ่งอย่างเข้มงวดระหว่างกฎซึ่งใช้ได้กับการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างประเทศและกฎที่เกี่ยวข้องกับการขัดกันด้วยอาวุธไม่ระหว่างประเทศ
การแบ่งนี้ถูกวิจารณ์อย่างกว้าง
การค้ามนุษย์
การดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ประเทศไทยหยิบยกปัญหาการค้ามนุษย์เป็นวาระแห่งชาติที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนและจริงจังตั้งแต่ปี
พ.ศ.2547 โดย พ.ร.บ.
ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 (The Anti-Trafficking in
Persons Act 2008) และกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์
และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ที่ให้ความสำคัญ 5 ด้าน คือ การป้องกัน การดำเนินคดี การคุ้มครองช่วยเหลือ
การพัฒนากลไกเชิงนโยบายและการขับเคลื่อน การพัฒนาและการบริหารข้อมูล
1.
กลไกการดำเนินงานในประเทศไทย
2.
กลไกการดำเนินงานเพื่อป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ประกอบด้วย
คณะกรรมการระดับชาติ 2 คณะ ได้แก่ (1)
คณะกรรมการป้องกันและปรามปรามการค้ามนุษย์ (ปคม.)
ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และ (2) คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
(ปกค.) ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และคณะอนุกรรมการต่าง ๆ
เพื่อผลักดันนโยบายระดับชาติ นอกจากนี้ พรบ. ดังกล่าว
ยังได้มีการกำหนดให้จัดตั้งกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
โดยมีการใช้เงินทุนในสองส่วน ได้แก่ การช่วยเหลือผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์
และ การดำเนินโครงการเพื่อป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
ซึ่งหน่วยงานทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชนสามารถเสนอโครงการเพื่อขอใช้งบประมาณกองทุนฯ
โดยเลขาธิการของกลไกระดับชาติ รวมทั้งการบริหารกองทุนฯ
อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
ในระดับจังหวัด
มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ระดับจังหวัด
ซึ่งประกอบด้วยกรรมการจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และในระดับหน่วยงาน
หลายหน่วยงานได้จัดตั้งหน่วยงานย่อยที่มีภารกิจเฉพาะ โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปราบปราม
เช่น กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์
ภายใต้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ศูนย์ต่อต้านการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศ
ภายใต้สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นต้น
ทั้งนี้ รัฐบาลเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในกลไกทั้งในระดับชาติ
โดยมีผู้ทรงคุณวุติจากภาคประชาสังคมเป็นกรรมการในคณะกรรมการระดับชาติ
และระดับจังหวัด โดยมีองค์กรพัฒนาเอกชนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ
และมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญในกระบวนการคัดแยกเหยื่อด้วย
3. การดำเนินนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
เนื่องจากไทยอยู่ในสถานะประเทศต้นทาง ทางผ่าน
และปลายทางของการค้ามนุษย์ นโยบายเพื่อแก้ไข ป้องกัน
และปราบปรามการค้ามนุษย์ของไทย ให้ความสำคัญกับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์เป็นหลัก
(Victim-Centered) และมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานหลายด้านที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการแสวงประโยชน์หรือการบังคับใช้แรงงาน
การปราบปรามและดำเนินคดีขบวนการค้ามนุษย์
รวมถึงการช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
ซึ่งนโยบายที่ไทยกำลังให้ความสำคัญในปัจจุบัน มีดังนี้
การดำเนินงานเกี่ยวกับผู้โยกย้ายถิ่นฐานที่เหมาะสมของไทย
เมื่อเดือนกันยายน 2547 นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานการประชุมหารือในประเด็นดังกล่าว
โดยเน้นการเคารพหลักสิทธิมนุษยชน
และประสงค์ให้แรงงานต่างด้าวทั้งหมดได้รับการจดทะเบียนและพิสูจน์สัญชาติให้เรียบร้อยเพื่อให้สามารถอยู่ทำงานในไทยได้อย่างถูกต้องและได้รับสิทธิ/การคุ้มครองทางสังคมต่าง
ๆ โดยรัฐบาลกำลังพิจารณาเรื่อง
การปรับสิทธิด้านการรักษาพยาบาลแรงงานต่างด้าวจากเดิมที่มีอยู่ให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ เพื่อรองรับการเตรียมตัวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน
การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมง
ซึ่งมีการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) การจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองซึ่งลักลอบทำงานบนเรือประมงปีละ
๒ เดือน (2) จัดตั้งศูนย์ประสานแรงงานประมงใน ๗
จังหวัดนำร่อง
การประกาศใช้แนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีสำหรับสถานประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้นในอุตสาหกรรมแปรรูปกุ้งและอาหารทะเลในประเทศไทย
(Good Labour Practices Guidelines for Primary Processing Workplaces in
the Shrimp and Seafood Industry of Thailand - GLP/PPW) เมื่อเดือนกันยายน
2556 ซึ่งเน้นการขจัดการใช้แรงงานบังคับ การใช้แรงงานเด็ก
เสรีภาพในการสมาคม การเจรจาต่อรองร่วม และความร่วมมือในสถานประกอบกิจการ
การไม่เลือกปฏิบัติ ค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน ค่าชดเชย ความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานและสวัสดิการ และ
การเพิ่มความเข้มข้นในการตรวจแรงงานประมง
การช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
โดยเน้นการดำเนินงานที่การให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดย
อนุญาตให้อยู่ใน ปทท. ได้ชั่วคราวเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกาย และจิตใจ
รวมทั้งการฝึกอาชีพและทักษะ
การอนุญาตให้ผู้เสียหายสามารถออกไปทำงานนอกบ้านพักเมื่อมีความพร้อม
การดำเนินคดีเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมให้กับผู้เสียหายจากภาครัฐ
และจากผู้กระทำผิดฐานค้ามนุษย์
3. การดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
กระทรวงการต่างประเทศมีภารกิจที่เกี่ยวข้องในด้านการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายชาวไทยในต่างประเทศ
ผ่านการดำเนินงานของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลทั่วโลก
มีส่วนในกระบวนการกำหนดนโยบายโดยคณะกรรมการระดับชาติ
และการดำเนินความร่วมมือในประเด็นการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ระหว่างประเทศ
ทั้งในระดับทวิภาคีและระดับพหุภาคี
กฎหมายว่าด้วยผู้ลี้ภัย
ซึ่งสาเหตุที่ประเทศไทยไม่เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัย
เนื่องจากการเข้าเป็นรัฐภาคีจะเป็นการผูกมัดตนเองในการปฏิบัติการทำงานในเรื่องผู้ลี้ภัยของ
UNHCR เพราะประเทศไทยมีภาระผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามและในอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัยนั้นได้มีการให้สิทธิต่างๆแก่ผู้ลี้ภัย
ซึ่งประเทศไทยมองว่ายังไม่เหมาะสม
จึงก่อให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้หนีภัยความตาย เช่น
ในเรื่องของสิทธิเท่าเทียมกับประชาชน ในความเป็นจริงจะเห็นได้ว่า
ผู้หนีภัยความตายจะได้รับสิทธิที่แตกต่างกันออกไป เช่น
สิทธิในการทำงานโดยหลักผู้หนีภัยความตายที่อยู่ในค่ายไม่ได้รับสิทธิในการให้ทำงาน
อันเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานที่บุคคลมีสิทธิเลือกประกอบอาชีพได้เองอย่างอิสระ
แต่ถ้าอยู่นอกค่ายและอยู่ในกลุ่มของผู้ถือบัตรชาวเขาก็จะได้รับอนุญาตทำงานในพื้นที่ที่จำกัด
แต่ถ้าเป็นผู้ถือบัตรต่างด้าวจะได้ทำงาน ในหลายพื้นที่แต่จำกัดประเภทของงาน
การห้ามผู้หนีภัยความตายออกนอกค่าย การให้กินอาหารเหมือนเดิมทุกวันซึ่งมีคุณภาพต่ำ
การที่ผู้ที่อยู่อาศัยในค่ายไม่มีโอกาสได้รับการศึกษา เป็นต้น
ซึ่งประเทศไทยมองว่าการเข้าเป็นภาคีอาจจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี โดยผลดีคือ
จะทำให้รัฐไทยได้รับการยอมรับจากต่างประเทศว่าเป็นประเทศที่มีสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานหลักสากล
แต่ผลเสียคือ รัฐไทยต้องผูกมัดตนเองดูแลผู้ลี้ภัยตลอดไป
ดังนั้นจึงต้องแก้ปัญหาผู้ลี้ภัยอย่างยั่งยืนซึ่งประกอบไปด้วย 3 แนวทางหลัก3คือ
การตั้งถิ่นฐานในรัฐผู้รับ
ประกอบด้วยมิติทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
โดยมิติทางการเมือง ได้แก่
การได้รับสิทธิและบริการต่างๆเช่นเดียวกับพลเมืองคนหนึ่ง เช่น บริการด้านสาธารณสุข
การศึกษา สิทธิในการทำงาน มิติทางเศรษฐกิจ เช่น
การส่งเสริมให้พึ่งพาตนเองและการทำมาหาเลี้ยงชีพ มีโอกาสได้รับการศึกษา
มิติทางวัฒนธรรม เช่น มีความสัมพันธ์โดยไม่ถูกกีดกัน
อย่างไรก็ตาม การตั้งถิ่นฐานในรัฐผู้รับไม่ใช่เรื่องง่าย
เนื่องจากประเทศผู้รับส่วนใหญ่ไม่ต้องการรับภาระเลี้ยงดูผู้ลี้ภัยตามลำพัง
2. การตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม
โดยทั่วไป UNHCR และประเทศที่สามจะเลือกผู้ที่ต้องการการคุ้มครองช่วยเหลือก่อน
โดยเฉพาะครอบครัว ที่ประสบกับการคุกคาม แต่ในทางปฏิบัติ
มีการคัดเลือกผู้ลี้ภัยจากพื้นฐานการศึกษาที่เอื้อต่อการปรับตัวในสังคมตะวันตกก่อนกลุ่มอื่น
แนวทางแก้ปัญหาโดยการตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามนี้
เหมาะสมกับสถานการณ์ผู้ลี้ภัยเรื้อรังที่ไม่สามารถหาทางออกโดยแนวทางอื่นๆ ได้
3. การส่งกลับประเทศโดยสมัครใจ
ดังนั้น ถ้าหากประเทศไทยเข้าร่วมเป็นรัฐภาคีอนุสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัย
จะส่งผลให้ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามอนุสัญญา คือ จะต้องดูแลผู้หนีภัยความตายอย่างดี
อย่างมีศักดิ์ศรีของความเป็นคน
และที่สำคัญต้องไม่ผลักดันส่งกลับประเทศโดยไม่สมัครใจ
ไปจนถึงอาจให้สิทธิคนกลุ่มนี้เข้ามาเป็นพลเมืองของไทยได้หายตรวจสอบแล้วว่าเป็นคนที่หนีภัยความตายมาจริง
และรัฐยังมีหน้าที่ต้องออกกฎหมายรับรองสิทธิของคนที่หนีภัยความตายเข้ามายังดินแดนของไทยด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น