กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายถึง กฎหมายซึ่งรวมเอาบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องทางแพ่ง และในทางพา
ณิชย์ข้าไว้ด้วยกัน
หลักทั่วไป
บุคคล หมายถึง สิ่งที่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
- บุคคลธรรมดา หมายถึง มนุษย์ซึ่งมีสภาพบุคคลและสิ้นสุดสภาพบุคคล โดยการตายและต้องมีสิ่งประกอบหรือทำให้ความเป็นบุคคลปรากฏชัดเจนขึ้น
- นิติบุคคล หมายถึง กลุ่มบุคคลหลายคนร่วมกันตั้งกลุ่มขึ้นโดยอาศัยอำนาจในทางกฏหมายการกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
ความสามารถของบุคคล
1. ความสามารถของบุคคลทั่วไป ตามกฎหมายปกติแล้วบุคคลทุกคนมีสิทธิทางกฎหมายเท่าเทียมกันแต่แตกต่างกัน คือ ความสามารถในการใช้สิทธิ
2. ความสามารถของบุคคลไร้ความสามารถ บุคคลไร้ความสามารถ หมายถึง บุคคลใดๆซึ่งไม่มีความสามารถตตามกฎหมาย
Ø กฎหมายที่เกี่ยวกับตนเอง
1. กฎหมายเกี่ยวกับชื่อบุคคล
- ชื่อบุคคล (Name) เป็นถ้อยคำที่ใช้เรียกบุคคลเพื่อบ่งบอกถึงตัวบุคคลใด ประกอบด้วยชื่อ ชื่อรอง และชื่อสกุล เพราะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการจำแนกบุคคล ส่วนชื่อรองกฎหมายไม่ได้บังคับ
- ชื่อตัว (First Name) เป็นชื่อประจำตัวของบุคคลแต่ละบุคคล ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากบิดาหรือมารดา
- ชื่อสกุล (Family Name) เป็นชื่อประจำวงศ์สกุลหรือประจำครอบครัวสืบเนื่องต่อมา ชื่อสุกลโดยปกติจึงเป็นชื่อที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
- ชื่อรอง เป็นชื่อประกอบถัดไปจากชื่อตัว มุ่งหมายบอกลักษณะหรือตัวบุคคลให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะเมื่อบุคคลเกิดขึ้นมากๆ อาจมีชื่อตัวซ้ำกัน
2. กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประชาชน
บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารที่สำคัญอย่างยิ่งที่ประชาชนทุกคนต้องมี ซึ่งบัตรประจำตัวประชาชนจะเสดงภูมิลำเนาและที่อยู่เพื่อความสะดวกในการติดต่อ ติดตาม และการช่วยเหลือต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
Ø กฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัว
1. การหมั้น
ชายและหญิงสามารถกระทำการหมั้นได้ก็ต่อเมื่อมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอายุยังไม่ถึง 17 ปี การหมั้นถือว่าเป็นโมฆะ การหมั้นต้องได้รับความยินยอมของบุคคลดังต่อไปนี้
- บิดาและมารดา
- ผู้รับบุตรบุญธรรม
- ผู้ปกครอง
2. การสมรส
การสมรสจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ แต่กรณีที่มีเหตุอันสมควรอาจจะขออนุญาตให้ทำการสมรสก่อนได้
3. ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา
3.1 สินส่วนตัว ได้แก่ ทรัพย์สินที่
(1) ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
(2) เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย
(3) เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ
3.2 สินรสมรส ได้แก่ ทรัพย์สินที่
(1) คู่สมรสได้มาระหว่างที่สมรส
(2) ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม
(3) เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
4. ความสัมพันธ์ในครอบครัว
- สามีภรรยาต้องช่วยเหลืออุปการะกันตามความสามารถและฐานะของตน
- บุตรมีสิทธิใช้นามสกุลของบิดาและมีสิทธิได้รับมรดกของบิดา
- บิดามารดาต้องอุปการะจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะ ต้องให้การศึกษาแก่บุตร
- บุตรไม่สามารถฟ้องร้องอุปการีได้
- บุคคลที่สามารถรับคนอื่นเป็นลูกบุญธรรมได้ ต้องมีอายุมากกว่า 25 ปี
- บุตรบุญธรรมมีฐานะได้สิทธิเช่นเดียวกับบุตร
5. การหย่า
การหย่านั้นจะกระทำได้โดยยินยอมทั้งสองฝ่าย หรือโดยคำพิพากษาของศาล
6.มรดก
มรดก หมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบต่าง ๆ ด้วยเว้นแต่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ โดยการได้รับมรดกมีสาเหตุดังต่อไปนี้
6.1 เจ้ามรดกตาย
การตายของเจ้ามรดก หมายถึง การตายโดยธรรมชาติ กล่าวคือ หัวใจหยุดเต้น และสมองไม่ทำงาน ส่วนสาเหตุที่ทำให้เจ้ามรดกต้องตายนั้นอาจเป็นเพราะสาเหตุใด ๆ ก็ได้
7 . ทายาท
7.1 ทายาทโดยธรรม คือ บุคคลที่มีสิทธิรับมรดกโดยผลของกฎหมาย
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) ปู่ ย่า ตา ยาย
(5) ลุง ป้า น้า อา
7.2 ทายาทโดยพินัยกรรม หมายถึง ผู้ที่มีสิทธิรับมรดกตามที่พินัยกรรมกำหนดไว้
8. พินัยกรรม
พินัยกรรม คือ การแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายไว้ มีหลายแบบเช่น
- แบบธรรมดาหรือแบบทั่วไป
- แบบเขียนเองทั้งฉบับ
- แบบเอกสารฝ่ายเมือง
- แบบเอกสารลับ
- แบบทำด้วยวาจา
- แบบทำในต่างประเทศ
- แบบทำในสภาวะสงคราม
Ø กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับความสามารถของผู้เยาว์
ผู้เยาว์ คือ บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ การสิ้นสุดผู้เยาว์สิ้นสุดเมื่อ
1. อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
2. สมรสตามกฎหมาย
กิจการที่ผู้เยาว์สามารถทำได้ และก่อให้เกิดผลทางกฎหมายแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. นิติกรรม คือ กิจการใด ๆ ที่บุคคลกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย
2. นิติเหตุ คือ เหตุการณ์ใด ๆ ที่นอกเหนือจากนิติกรรม เกิดได้ 2 ทาง คือ
2.1 เกิดโดยธรรมชาติ
2.2 เกิดจากการกระทำของบุคคล
ด้านทรัพย์สินของผู้เยาว์
- ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ สามารถจัดการกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ได้โดยลำพังตามที่เห็นสมควรและประโยชน์ของผู้เยาว์
- ผู้แทนโดยชอบทำของผู้เยาว์ ไม่สามารถทำหนี้ ทำหนี้โดยที่ผู้เยาว์จะต้องทำเองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เยาว์ไม่ได้
การทำนิติกรรมใด ๆ ของผู้เยาว์ หากปราศจากการยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมจะถือว่าเป็นโมฆียะทั้งสิ้น แต่มีข้อยกเว้นในบางกรณี ได้แก่
1. การทำนิติกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว
2. การทำนิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว
3. การทำนิติกรรมเพื่อดำรงชีพของผู้เยาว์
Ø กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับคนไร้ความสามารถ
คนไร้ความสามารถ คือ บุคคลวิกลจริตซึ่งอาจเกิดจากโรคจิต จิตฟั่นเฟือน
ผลของการเป็นบุคคลไร้ความสามารถ
1. บุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้น จะต้องจัดอยู่ในความอนุบาล ศาลจะสั่งให้อยู่ในความอนุบาล หมายถึง จะต้องมีผู้อนุบาลเพื่อดูแลจัดการทรัพย์สินของบุคคลที่ไร้ความสามารถ
2. การใด ๆ อันคนไร้ความสามารถได้ทำลงตกเป็นโมฆียะ
การสิ้นสุดแห่งการเป็นคนไร้ความสามารถ
1. เมื่อคนที่ไร้ความสามารถถึงแก่ความตาย
2. ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
Ø กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับคนเสมือนไร้ความสามารถ
คนเสมือนไร้ความสามารถ (Quasi-Incompetent) คือ บุคคลที่มีเหตุบกพร่องบางสิ่งบางอย่าง ไม่สามารถจัดการงานของตนเองได้
ผลของการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
1. ตกอยู่ในความพิทักษ์
2. ถูกจำกัดความสามารถบางชนิด
การสิ้นสุดแห่งการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ
1. คนเสมือนไร้ความสามารถถึงแก่ความตาย
2. ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
3. ศาลสั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนคนเสมือนไร้ความสามารถ
Ø กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับคนวิกลจริต
บุคคลวิกลจริต (Unsound Mind) คือ บุคคลที่มีอาการวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ที่สามารถเหมือนดังบุคคลทั่วไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น